Page 26 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 26
เรื่องที่ 1 ความหมายของการวิจัยอย่างง่าย ตามบริบทของ กศน.
การวิจัยอย่างง่าย ตามบริบทของ กศน. เป็นการก าหนดนิยาม องค์ประกอบ และรูปแบบการท า
วิจัยอย่างง่ายให้เหมาะสมกับบริบทโดยรวมของ กศน. ทั้งที่เป็นลักษณะรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
บทบาทหน้าที่และภารกิจของครูผู้สอน กศน. รวมถึงกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เรียน กศน. ที่มีความหลากหลาย
โดยบูรณาการแนวความคิด และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สูงสุดในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนของครู กศน.
กล่าวได้ว่า การวิจัยอย่างง่ายของ กศน. จะหมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ ความจริง
โดยวิธีการที่เชื่อถือได้ มีระเบียบแบบแผน เป็นระบบ ซึ่งค าตอบของปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ต้องการรู้
อาจมาจากการศึกษาค้นคว้า การรวบรวมข้อมูล การทดลอง หรือการประดิษฐ์ การคิดค้นวิธีการ นวัตกรรม
หรือสิ่งอื่นใด ที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผนวกกับความรู้และประสบการณ์ของครูผู้สอน เป็นเครื่องมือ
ในการคิดและการด าเนินการ โดยความจริงและข้อค้นพบต้องสัมพันธ์กับสภาพปัญหาที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น
และการวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.ในคู่มือเล่มนี้ เน้นการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน แล้วครูผู้สอนลงมือ
แก้ปัญหา พัฒนาไปอย่างเป็นระบบ แล้วน าเสนออย่างง่าย ไม่ซับซ้อน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัย
ปฏิบัติการ (Action Research) ที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไป เป็นการแสวงหาความรู้ ความจริง
โดยวิธีการหรือนวัตกรรม เพื่อให้ได้ทางเลือกในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้และเกิดประโยชน์สูงสุด
ต่อผู้เรียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ดังนั้น การวิจัยอย่างง่ายที่กล่าวถึงในคู่มือเล่มนี้ จึงเป็นลักษณะการแสวงหาความรู้ ความจริง
ที่เป็นงานในหน้าที่ของครูผู้สอนกับผู้เรียน หรือเป็นหน้าที่ที่ครูผู้สอนต้องพิจารณาและตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา
ว่าผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ มีพฤติกรรม มีปัญหา หรืออุปสรรค
ใดเกิดขึ้นมาบ้าง และได้ปรับปรุงแก้ไข ให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นับเป็น
การพัฒนาการเรียนรู้ หรือการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนต่อไป
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
12