Page 33 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 33
ตอนที่ 3
สาระส าคัญ
การวิจัยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การวิจัยแบบเป็นทางการ ซึ่งหมายถึง การวิจัยที่มีระเบียบ
แบบแผน มีขั้นตอนที่ชัดเจน เป็นระบบ มีลักษณะเหมือนงานวิจัยทางการศึกษา หรือการวิจัยเชิงวิชาการ
ที่ประกอบไปด้วย 5 บท ตามที่ครูผู้สอนหลาย ๆ คน อาจคุ้นเคยมาแล้วและการวิจัยแบบไม่เป็นทางการซึ่งเป็น
การวิจัยที่มุ่งเน้นหาค าตอบจากข้อมูลที่เป็นประสบการณ์จริงในชั้นเรียน อ้างอิงทฤษฎีที่จ าเป็น ใช้ข้อมูล
ทางสถิติเบื้องต้น ด าเนินการวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงคือ ผู้เรียนที่ครูผู้สอนพบว่ามีปัญหา
ในแต่ละภาคเรียนครูผู้สอนสามารถท าวิจัยได้หลายเรื่อง ตามปัญหาที่พบขณะที่สอน และใช้
ระยะเวลาในการวิจัยไม่นาน ซึ่งเป็นลักษณะของการวิจัยอย่างง่ายนั่นเอง แต่ทั้งนี้ ต้องมีการด าเนินงานเป็น
ขั้นตอน โดยอาจร่างกรอบการวิจัย หรือแผนการวิจัย หรือปฏิทินการวิจัยคร่าว ๆ ที่ยึดหลักการ และ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนวิจัย ปฏิบัติตามแผน เก็บรวบรวมข้อมูล และ
สะท้อนความรู้ ข้อค้นพบ ข้อสังเกต หรือเรียกย่อ ๆ ว่ากระบวนการ PAOR รวมทั้งต้องมีสาระและ
กระบวนการวิจัยครบถ้วน คือ ต้องมีการส ารวจและวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนก าหนดรูปแบบวิธีการแก้ปัญหา
เครื่องมือวิจัยหรือนวัตกรรม วิธีการด าเนินงาน สรุปผลการด าเนินงาน รวมไปถึงการอภิปรายผลและ
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ครู กศน.
1. รู้และเข้าใจกระบวนการท าวิจัยอย่างง่าย
2. ปฏิบัติการวิจัยอย่างง่ายตามกระบวนการและขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 การก าหนดและวิเคราะห์ปัญหา และการสร้างกรอบความคิด (สมมติฐาน) การวิจัยอย่างง่าย
เรื่องที่ 2 การตั้งชื่อเรื่อง การเขียนวัตถุประสงค์ การก าหนดขอบเขตและการสร้างเครื่องมือวิจัย
เรื่องที่ 3 การลงมือปฏิบัติงานวิจัยอย่างง่ายและการเก็บข้อมูล
เรื่องที่ 4 การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล
เรื่องที่ 5 การเขียนสรุปผล การอภิปรายผลการวิจัยอย่างง่ายและข้อเสนอแนะ
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
19