Page 34 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 34
เรื่องที่ 1 การก าหนดและวิเคราะห์ปัญหา และการสร้างกรอบความคิด (สมมติฐาน)
การก าหนดและวิเคราะห์ปัญหาการวิจัยอย่างง่าย
การค้นหาปัญหา เพื่อท าวิจัยอย่างง่าย อาจมีรูปแบบการวิจัยและกรอบการวิจัยที่หลากหลาย
ตามสภาพปัญหาที่พบ เนื่องจากในกระบวนการสอนของครูผู้สอน มีปัจจัยและตัวแปรหลายอย่างที่มี
ความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอน เริ่มจากการศึกษา
วิเคราะห์หลักสูตร ก าหนดแนวการสอน เขียนแผนการสอน ซึ่งการเขียนแผนการสอนจะต้องก าหนดสาระ
การเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ก าหนดกิจกรรมหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ รวมไปถึง
วิธีการวัดและประเมินผลไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่การพบปัญหาระหว่างจัดการเรียนการสอนอาจมีสาเหตุมาจาก
ผู้เรียน ผู้สอน หลักสูตร แผนการเรียนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ หรือแม้แต่การประเมินผล
การค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างจัดกระบวนการเรียนรู้ หรือการจัดการเรียนการสอน สามารถ
เริ่มต้นได้จากหลาย ๆ วิธีการ เช่น การพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ของผู้เรียน การสังเกตพฤติกรรมผิดปกติของผู้เรียนในกลุ่ม หรือจากการบันทึกหลังการสอน สิ่งเหล่านี้อาจได้
แนวความคิดมาจากประสบการณ์ของครูผู้สอนโดยตรง หรือแนวความคิดมาจากการอ่านทฤษฎี หนังสือ
หรือวารสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิจัย งานวิจัยทางการศึกษาหรือการวิจัยเชิงวิชาการ หรือแม้แต่การแลกเปลี่ยน
เรียนรู้จากผู้อื่นหรือเพื่อนครูด้วยกัน
หลังจากนั้น ครูผู้สอนก็น าแนวความคิดนั้น ๆ มาสังเกตผู้เรียนในกลุ่มของตนเอง ซึ่งผู้เรียนอาจมี
เพียงคนเดียว สองคน สามคน หรือมากกว่านั้น แต่ไม่ควรมากเกินครึ่งห้อง ที่ยังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
เช่น ยังขาดทักษะการฟัง การอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดค านวณ ฯลฯ หรือไม่เข้าใจเนื้อหา หรือไม่ผ่าน
จุดประสงค์ตามแผนการเรียนรู้ของรายวิชาต่าง ๆ ของแต่ละบทเรียน ซึ่งถือเป็นปัญหาวิจัยด้านการเรียนการสอน
ที่ครูผู้สอนพบได้บ่อย ๆ ระหว่างจัดกิจกรรมพบกลุ่ม นอกจากนี้ อาจพบปัญหาพฤติกรรมของผู้เรียน
ขาดความรับผิดชอบ ขาดความตระหนัก ฯลฯ ก็พิจารณาจากปัญหาเหล่านี้มาท าวิจัยอย่างง่ายได้เช่นกัน
ลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียน กศน. นั้นมีหลากหลายดังได้กล่าวมาแล้ว มักจะเกิดขึ้น
ในลักษณะกว้าง ๆ หรือเกิดในลักษณะคลุมเครือที่มองดูเผิน ๆ อาจเกี่ยวโยงไปแทบทุกส่วน ดังนั้น ครูผู้วิจัย
ต้องรู้จักวิธีที่จะลดความกว้างและความคลุมเครือ เพื่อให้ได้ภาพของปัญหาที่ชัดเจนขึ้น วิธีการหนึ่งที่ควรจะท า
คือ การเขียนรายละเอียดของความจริงเกี่ยวกับปัญหา (Facts) และการเขียนค าอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหา
(Explanations) นั้นออกมา แล้วหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างความจริงและค าอธิบาย บางครั้งอาจพบว่า
เป็นปัญหาที่มีสาเหตุจากตัวแปรอื่น ๆ ที่เข้าใจง่าย ไม่จ าเป็นต้องท าวิจัย หรืออาจมีสาเหตุอื่น นอกเหนือหรือ
ไกลเกินกว่าที่ครูผู้สอนจะควบคุม หรือเปลี่ยนแปลงได้ เป็นต้น ลักษณะของปัญหาแท้ที่พบ อาจมีหลากหลาย
และมีสาเหตุที่หลากหลายเช่นกัน ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงวิธีการเขียนความจริงเกี่ยวกับปัญหา และการอธิบาย
เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาให้เข้าใจได้มากขึ้น
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
20