Page 36 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 36
6) จ านวนผู้เรียนในห้องเรียนทั้งหมด หรือจ านวน และสถิติการมาเรียนของผู้เรียน
7) สภาพแวดล้อมทางบ้านของผู้เรียน
8) เพศของผู้เรียนที่มีปัญหา
9) พื้นฐานความรู้เดิมทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน
10) ความสนใจเรียนคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีปัญหา รวมถึงการซักถาม การส่งงาน เป็นต้น
11) ผลการเรียนวิชาอื่น ๆ ของผู้เรียนที่มีปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ทั้งหมดนี้ คือตัวอย่าง การเขียนความจริงเกี่ยวข้องกับประเด็นของปัญหา จะเห็นว่าความจริง
เหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดช่องความคิดของครูผู้สอน ให้คิดต่อไปถึงหัวข้อที่ควรท าวิจัย นอกจากนี้ ยังท าให้
ครูผู้สอนรู้ได้คร่าว ๆ ว่า เรื่องเหล่านั้นตนเองสามารถแก้ไขได้เองหรือไม่ หรือเงื่อนไขบางอย่างอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
หรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ ซึ่งจะท าให้ครูผู้สอนมองปัญหาและสาเหตุได้แคบลง
2. ค าอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุปัญหา (Explanations) เช่นเดียวกับในเรื่องของความจริงของปัญหา
(Facts) ตามที่กล่าวมาแล้ว การเขียนค าอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นว่าน่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาลงไป จะเป็นอีก
วิธีหนึ่งที่ช่วยให้สามารถคิดหัวข้อ ที่จะท าวิจัยได้แคบลงและแหลมคมยิ่งขึ้น จากกรณีตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว
สามารถเขียนค าอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุปัญหา ได้ดังนี้
1) ครูผู้สอนอาจสอนเร็วเกินไป ท าให้ผู้เรียนบางคนตามไม่ทัน หรือครูผู้สอนอธิบายและ
ยกตัวอย่างน้อยไป ท าให้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ต่ า หรือไม่ดี ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ครูสอน
2) ต ารา หนังสือหรือคู่มือมีเนื้อหารวบรัดเกินไป มีค าอธิบายที่ไม่ละเอียดเพียงพอ รวมทั้ง
ยังมีตัวอย่าง และแบบฝึกหัดน้อย
3) งานหรือแบบฝึกที่ครูผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนท าด้วยตัวเองนั้นยากเกินไป จึงท าให้ผู้เรียนมี
เจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
4) ผู้เรียน กศน.ที่มีงานท า มีเวลามาเรียนไม่มากนัก การทบทวนบทเรียนและการส่งงานตามที่
ได้รับมอบหมาย จึงท าได้ไม่เต็มที่
5) ครูผู้สอนใช้เสียงบรรยายให้ความรู้เบาเกินไป และไม่มีสื่ออื่น ๆ ประกอบการบรรยาย
ท าให้ผู้เรียนขาดความสนใจ
6) ครูผู้สอนขาดความสนใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล เนื่องจากมีผู้เรียนจ านวนมาก และมีความรู้
พื้นฐานต่างกัน
ค าอธิบายถึงสาเหตุต่าง ๆ ของปัญหาเหล่านี้ ไม่จ าเป็นต้องอธิบายความจริงในแต่ละข้อ
ที่เขียนไว้แล้ว แต่ควรเป็นค าอธิบายโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นอะไรก็ได้ที่ครูผู้สอนคิดว่าเป็นสาเหตุของปัญหา
และเมื่อเขียนได้แล้ว จึงน ามาพิจารณาเป็นข้อ ๆ ภายหลัง หากข้อไหนไม่ตรงประเด็น หรือไม่น่าจะเป็นสาเหตุ
ของปัญหาก็ตัดออกไปได้ ซึ่งวิธีการเช่นนี้ จะท าให้ครูผู้สอนสามารถหาหัวข้อปัญหาที่จะน าไปสู่การท าวิจัยได้
ง่ายขึ้นเช่นกัน
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
22