Page 35 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 35

ตัวอย่าง

                           ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของ กศน.ต าบลน้ าบ่อหลวง

                  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ต่ า จากการจัดวิธีการเรียนรู้
                  แบบบรรยายในการพบกลุ่ม โดยมีจ านวนผู้เรียนที่สอบไม่ผ่าน และมีจ านวน

                  ผู้เรียนที่สอบผ่าน แต่ได้ระดับคะแนนน้อยมาก




                           จากตัวอย่างของปัญหานี้ ครูผู้สอนอาจตั้งข้อสงสัยว่า การจัดการเรียนรู้แบบบรรยายที่ใช้พบกลุ่ม
               เป็นวิธีการที่น่าจะท าให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ดีที่สุด เพราะผู้เรียนสามารถซักถามข้อสงสัย

               ในจุดที่ยังไม่เข้าใจจากครูผู้สอนได้ดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนทางไกล เป็นต้น

               เนื่องจากมีครูผู้สอนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อผู้เรียนยังมีปัญหาเช่นนี้ ครูผู้สอนจึงควรจะท าวิจัยเพื่อหาสาเหตุและ
               ข้อแก้ไข เพื่อน ามาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้ได้ผลดีขึ้น แต่ปัญหา คือ จะท าวิจัยเรื่องอะไรดี และปัญหานี้

               เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ครูผู้สอนจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้เองหรือไม่ นี่คือค าถามและ

               ปัญหาของครูผู้สอนส่วนใหญ่ ดังนั้น วิธีการที่จะลดความกว้างของปัญหาและสามารถวิเคราะห์จนกระทั่งพบ

               สาเหตุแท้จริงได้ ครูผู้สอนควรด าเนินการ ดังนี้

                           1.  เขียนความจริงเกี่ยวกับปัญหา (Facts) จากตัวอย่างที่ให้ไว้ การเขียนความจริงเกี่ยวกับปัญหา
               ครูผู้สอนสามารถเขียนได้ตามความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ครูผู้สอนจะนึกได้ และควรเขียนเป็นข้อ ๆ

               เพื่อพิจารณาได้สะดวก เช่น

                             1)  รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนใช้วิธีแบบไหน ก็เขียนลงไป อาจเป็นไปได้ว่า
               ครูผู้สอนถนัดสอนแบบบรรยาย และเคยเรียนมาด้วยวิธีการแบบนี้ แต่อาจลืมนึกถึงพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

               ของผู้เรียนแต่ละคน หรือรูปแบบการบรรยายอาจไม่น่าสนใจ หากเป็นเช่นนี้ปัญหาก็อยู่ที่ตัวผู้สอนและ

               วิธีการสอน
                             2) จ านวนผู้เรียนที่คิดว่ามีปัญหาในการเรียนรายวิชานี้ ซึ่งคาดว่า คงไม่ใช่ผู้เรียนทั้งหมดที่มี

               ปัญหานี้

                             3) อายุของผู้เรียนที่มีปัญหา อาจพบความจริงว่า ผู้เรียนที่อยู่ในวัยเด็กมีผลการเรียนดีกว่า
               ก็สามารถท าวิจัยในหัวข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างอายุผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                             4) การมีงานท าของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียน กศน. ส่วนใหญ่มีงานท า รวมถึงอาจมีช่วงเวลา

               ท างานที่ต่างกัน ดังนั้น ผู้เรียนที่ท างานอาจมีเวลาทบทวนบทเรียนน้อย และท าให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ า

               ได้เช่นกัน

                             5) ต าราเล่มใดที่ใช้สอน อาจน ามาวิเคราะห์ดูว่า มีเนื้อหาที่ยากง่าย หรือมากน้อย เหมาะสม
               กับลักษณะผู้เรียน และระยะเวลาเรียนหรือไม่


                                                คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
                                                             21
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40