Page 42 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 42
ตัวอย่างที่ 2
ครูผู้สอนบันทึกหลังสอนไว้ว่า ผู้เรียนไม่สามารถสรุปความคิดรวบยอดของบทเรียน ให้ตรงกับเนื้อหา
และจุดประสงค์ของการเรียนรู้รายวิชา ครูผู้สอนพบปัญหานี้จากการตั้งประเด็นค าถาม เพื่อทบทวนความรู้
ให้ผู้เรียนตอบทุกครั้ง ก่อนสิ้นสุดการสอน แต่ผู้เรียนไม่สามารถสรุปความคิด เรื่องราวที่เรียนผ่านมาได้ อันดับแรก
ครูผู้วิจัยต้องตั้งค าถามการวิจัยว่า “เหตุใดผู้เรียนจึงไม่สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้” “การสอนที่ท าให้
ผู้เรียนสามารถสรุปประเด็นเนื้อหาการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไร” โดยบันทึกปัญหาที่ผู้เรียนไม่สามารถ
สรุปประเด็นการเรียนรู้ในบทเรียนลงในบันทึกหลังสอน จากนั้นจึงสร้างกรอบความคิด (สมมติฐานการวิจัย)
เพื่อท าวิจัยอย่างง่าย โดยบันทึกลงในแบบบันทึกหลังสอนที่เดียวกันเพื่อกันลืมว่า การแก้ปัญหา
การสรุปประเด็นการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องแก้ไขด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนั้น ควรมีวิธีการ
อย่างไร มีหลักการสอน (ทฤษฎีการสอน) อะไรบ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง จากปัญหานี้ ผู้เรียนมีความเหมาะสมกับ
วิธีการสอนแบบใด เช่น การสอนแบบอภิปราย การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบติวเตอร์ การสอน
แบบปฏิบัติการ การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ เป็นต้น ครูผู้วิจัยต้องศึกษารูปแบบการสอนแบบต่าง ๆ และ
เลือกรูปแบบการสอน ที่เหมาะสมกับปัญหาของผู้เรียน จากนั้นจึงก าหนดนวัตกรรม กระบวนการเรียนรู้
(แบบมีส่วนร่วม/แบบอภิปราย) ควรมีกี่ขั้นตอน ก าหนดสื่อการสอน (ถ้ามี) ที่จะน ามาใช้จัดกระบวนการ
เรียนรู้ หากครูผู้วิจัยเลือกวิธีการสอนแบบอภิปราย ครูผู้วิจัยต้องย้อนกลับไปศึกษาวิธีการสอนแบบอภิปราย
ว่ามีขั้นตอนการสอนอย่างไร มีกี่ขั้นตอน มีการก าหนดประเด็นค าถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
อย่างไร ที่สามารถท าให้ผู้เรียนสรุปประเด็นเนื้อหาการเรียนได้ครบถ้วน
จากตัวอย่างที่ 2 ครูผู้วิจัยได้เรียนรู้การก าหนดปัญหาและการสร้างกรอบความคิดการวิจัยอย่างง่าย
ตามกระบวนการ ดังนี้
1. ก าหนดปัญหาการวิจัย
ผู้เรียนไม่สามารถสรุปความคิดรวบยอดของบทเรียนให้ตรงกับเนื้อหาและจุดประสงค์ของการเรียนรู้รายวิชา
2. สร้างกรอบความคิด (สมมติฐานการวิจัย) โดยใช้แนวคิด/ทฤษฎี ดังนี้
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ
2.3 การสอนแบบอภิปราย
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
28