Page 15 - ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
P. 15

คําอธิบาย

                              (๑)  ตระเตรียมคดีนั้นลวงหนาอยางถี่ถวน  :  ผูพิพากษาเจาของสํานวนจักตองอาน
               และเขาใจเนื้อหาของคดี  แยกแยะออกไดวาอะไรเปนประเด็นแหงคดีอะไรมิใช  และรูทั่วถึง
               ซึ่งความตื้นลึกหนาบางแหงคดีจากพยานหลักฐานในสํานวนความรูเทาทันคูความและพยาน แตเปนการ

               รูอยางไมยินดียินราย คือมีอุเบกขา หรือวางใจเฉยอยูไมนําความรูสึกสวนตัวเขามาเกี่ยวของดวย
               สามารถชั่งน้ําหนักคําพยานและรับฟงพยานหลักฐานไดตรงกับความเปนจริง ทั้งปรับบทกฎหมาย

               เขากับคดีนั้นไดอยางถูกตองและเปนธรรม
                              (๒)  จักตองชี้แจงขอเท็จจริงและขอกฎหมายตอองคคณะอยางถูกตองครบถวน :
               ผูพิพากษาเจาของสํานวนจักตองเปดเผยขอเท็จจริงทุกประการแกผูพิพากษาที่เปนองคคณะ แมใน

               บางเรื่องเจาของสํานวนอาจจะเห็นวาเปนเรื่องปลีกยอย  แตองคคณะอาจเห็นเปนเรื่องนาเฉลียวใจ
               ควรพิเคราะหโดยรอบคอบก็ได โดยเฉพาะในเรื่องของการชั่งน้ําหนักคําพยานและการรับฟง

               พยานหลักฐาน หรือขอแตกตางของคําเบิกความเพียงพลความ ผูพิพากษาที่เปนองคคณะอาจเห็น
               เปนเรื่องสําคัญ  หรือแสดงขอพิรุธของพยาน ถึงขนาดที่ทําใหขาดความเชื่อถือก็ได การปกปดขอเท็จจริง
               สวนใดสวนหนึ่งจักมีไมไดเลย เพราะเทากับเจาของสํานวนมิไดปฏิบัติหนาที่โดยสุจริต

                              (๓)  ผูพิพากษาที่เปนองคคณะจักตองรวมพิจารณาใหขอคิดเห็นและเหตุผล
               ประกอบเสมือนหนึ่งตนเปนเจาของสํานวนคดีเรื่องนั้นเอง  :  คดีซึ่งมีขอยุงยากและซับซอนนั้น

               ผูพิพากษาองคคณะนาจะไดอานและพิจารณาพยานหลักฐานในสํานวนนั้นดวยตนเองดวย
               แทนที่จะฟงการแถลงขอเท็จจริงจากผูพิพากษาเจาของสํานวนแตเพียงประการเดียวเทานั้น
               และไมวาคดีนั้นจะเปนคดีมีขอยุงยากและซับซอนหรือไม ผูพิพากษาองคคณะจักตองใหขอคิดเห็น

               และเหตุผลประกอบเสมือนหนึ่งตนเปนเจาของสํานวนคดีเรื่องนั้นเอง
                              (๔)  ผูพิพากษาที่รวมกันพิจารณาคดีพึงเคารพในความคิดเห็นและเหตุผลของกัน

               และกัน ทั้งนี้เพื่อใหไดคําวินิจฉัยชี้ขาดที่ถูกตองและเที่ยงธรรม  :
                              (ก)  ในเรื่องนี้มีคําเตือนผูพิพากษาของพระยาจินดาภิรมย เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
               ซึ่งไดพิมพแจกแกผูพิพากษาที่จะออกไปรับราชการใหมใน พ.ศ.๒๔๗๒  ตอนหนึ่งวา :

                              “...หนาที่ตุลาการตางกับธุรการอยางหนึ่งคือ ฝายธุรการนั้นตองฟงบังคับบัญชา
               ผูมีอํานาจเหนือ แตตุลาการในสวนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีแลว มีอิสระในการ

               ออกความเห็นและพิพากษา แตทั้งนี้ไมใชวาทําตามชอบใจตนได ตองตั้งอยูในคลองมรรยาท
               ของผูพิพากษาประกอบดวยสุจริตธรรมและพิจารณาพิพากษาคดีความตามบทกฎหมายพระธรรมนูญ
               และแบบแผน

                              ทานเปนผูพิพากษาออกไปรับราชการใหมยอมมีหัวหนาในศาลที่ทานรับราชการ
               และยังมีอธิบดีผูพิพากษาศาลมณฑลครอบงําอีกชั้นหนึ่ง หนาที่ของทานตองเคารพและฟงคําสั่งตักเตือน

               ของทานเหลานี้ตามที่ชอบดวยราชการ  จึงควรมีความปรองดองสามัคคีระหวางกันตามลําดับผูใหญ
               และผูนอย  ควรผอนผันเขาหากันอยาถือเปนเขาเปนเรา  แตสวนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี
               อันเปนหนาที่ตุลาการโดยเฉพาะนั้น ทานมีโอกาสชี้แจงและโตเถียงไดโดยเต็มความสามารถ

               ตามความเห็นของทานที่ไดศึกษามาในวิชากฎหมาย เพื่อคูความจะไดรับความยุติธรรมเปนอยางดีที่สุด
               ดั่งจะเห็นไดในบทพระธรรมนูญศาลยุติธรรม  ซึ่งบัญญัติไววาตองมีผูพิพากษานั่งพิจารณาไมนอยกวา
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20