Page 25 - ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
P. 25

เพื่อความสะดวก  ผูบังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปอาจอนุญาตใหผูอยูใตบังคับบัญชาปฏิบัติหนาที่ราชการ

               ขามลําดับชั้นได

               บทบัญญัติ


                              ขอ  ๑๗  ผูพิพากษาจักตองปกครองผูอยูใตบังคับบัญชาดวยความเที่ยงธรรม

               และควบคุมใหผูอยูใตบังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัยและจริยธรรมโดยเครงครัด
                              การรายงานความดีความชอบของผูอยูใตบังคับบัญชาจักตองตรงตามความเปนจริง
               และการใหความเห็นเกี่ยวกับผูอยูใตบังคับบัญชาจักตองปราศจากอคติ


               คําอธิบาย

                              (๑)  ปกครองผูอยูใตบังคับบัญชาดวยความเที่ยงธรรม  :
                              การที่จะวินิจฉัยวาอยางไรเที่ยงธรรมในการปกครองนั้น  ที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปก็คือ
               ยึดถือระบบคุณธรรม (merit system)  อันหมายถึงระบบการพิจารณาความดีความชอบ หรือตําแหนง

               หนาที่ของขาราชการ  โดยยึดถือประโยชนของทางราชการแผนดินเปนหลัก ซึ่งไดแกการพิเคราะห
               จากผลการปฏิบัติงานและคุณลักษณะดีเดนตาง ๆ ของตัวขาราชการผูนั้นเปนสําคัญ  โดยเฉพาะอยางยิ่ง

               ความซื่อสัตยสุจริต ความรูความสามารถ ความมีวิริยะอุตสาหะ การอุทิศตนใหแกราชการ อุปนิสัย
               อาวุโส  และการดํารงตนในสังคม
                              สําหรับระบบคุณธรรมของผูพิพากษานั้น  นอกจากผลการปฏิบัติงานและความรู

               ความสามารถแลว  มีคุณลักษณะบางประการที่พึงไดรับการพิจารณาเปนพิเศษ  กลาวคือ
                              (ก)  ความซื่อสัตยสุจริต  นั้นตองพิเคราะหอยางละเอียดลึกซึ้งกวาปกติตามที่กลาวไวแลว

              ในจริยธรรม  ขอ ๑  คําอธิบาย  (๒)
                              (ข)  อุปนิสัย ของผูพิพากษาจักตองพิเคราะหในแงความมีสามัญสํานึก
               ความพอเหมาะพอควร ความมีสัมมาทิฐิ  ความสุขุมเยือกเย็น และความสุภาพนุมนวลประกอบดวย

                              (ค)  อาวุโส  เรื่องอาวุโสนี้  ราชการฝายตุลาการใหลําดับความสําคัญคอนขางสูง
               และแตกตางจากราชการฝายอื่น ๆ ในแงที่วา ขาราชการตุลาการมีลําดับอาวุโสเพียงสายเดียว

               โดยมีประธานศาลฎีกาเปนผูมีอาวุโสสูงสุดและเรียงลําดับลงมาจนกระทั่งถึงผูชวยผูพิพากษา
               คนสุดทาย สวนราชการฝายอื่น ๆ แมจะมีลําดับอาวุโสแตก็มิไดจัดลําดับอาวุโสอยางเครงครัด
               เปนสายเดียวเชนขาราชการตุลาการ

                              (ง)  การดํารงตนในสังคม เนื่องจากการปฏิบัติหนาที่ราชการของผูพิพากษาจะมี
               ประสิทธิภาพเพียงใด  ขึ้นอยูกับความเชื่อถือศรัทธาที่บุคคลทั่วไปมีตอตัวผูพิพากษาทั้งเปนรายตัว

               บุคคลและเปนสถาบันดวย การดํารงตนในสังคมของผูพิพากษาจึงมีความสําคัญอยูมาก
                              ระบบปกครองขาราชการซึ่งตรงกันขามกับระบบคุณธรรมคือระบบอุปถัมภ
               (patronage system)   อันไดแก  การสนับสนุนสมัครพรรคพวก  (favoritism)  หรือญาติพี่นอง

               (nepotism)   อันเปนระบบที่ยึดประโยชนสวนตนเปนสําคัญ  ซึ่งเปนการบอนทําลายประสิทธิภาพ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30