Page 64 - โครงการแกว_Neat
P. 64

57

                 •  สถานที่แคบเกินไป ทำให้กางแขนหรือเหยียดแข้งขาไม่ถนัด


                 •  ผู้เต้นอาจมีน้ำหนักมากเกินไป





                 เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีผู้ดัดแปลงการเต้นตามแบบเดิมที่มีการกระโดดและใช้ขา

          ค่อนข้างมาก หันมาใช้แขนทั้ง 2 ข้างให้มากขึ้น สำหรับขายังคงเคลื่อนไหวได้อยู่แต่ต้องให้มีข้างหนึ่งแตะพื้นอยู่

          เสมอเป็นการเต้นโดยไม่มีการกระโดดตัวลอยนั่นเอง เรียกว่าเต้นแอโรบิกแบบโลว์อิมแพกต์ (Low impact


          aerobic dance) หรือซอฟต์แอโรบิก (Soft aerobic)


                 นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนการเต้นให้นุ่มนวลขึ้นโดยไม่กระโดดทั้งตัวแล้วยังมีการคิดวิธีเต้นกันในน้ำ

          เรียกว่า “ไฮโดรแอโรบิก” (Hydro-aerobic) หรือไฮโดรยิมนาสติก


                 ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ ได้แก่


                 * กระตุ้นระบบหายใจ และการไหลเวียนของโลหิตให้ทำงาน อดทนและแข็งแรงขึ้น



                 * ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อเคลื่อนที่มากขึ้น ร่างกายจึงอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ดี


                 * กล้ามเนื้อและประสาททำงานประสานกันดีขึ้น ท่าให้ร่างกายคล่องแคล่ว การทรงตัวได้สมดุล มีความ

          ไวในการสนองตอบต่อปฏิกิริยาต่างๆ


                 * สร้างเสริมความแข็งแรง และความกระฉับกระเฉง กล้ามเนื้อออกแรงทำงานได้ดีขึ้นร่างกายมีรูปร่าง

          ทรวดทรงดี น้ำหนักตัวพอเหมาะ


                 ข้อควรปฏิบัติในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ มีดังนี้



                 * ควรฝึกสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งๆ ละ 30-45 นาที


                 * ความหนักในการออกกำลังกายควรเป็น 70% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจคือประมาณไม่เกิน

          150-160 ครั้งต่อนาที ในเด็กและวัยรุ่น 120-140 ครั้งต่อนาทีในวัยผู้ใหญ่และไม่เกิน 120 ครั้งต่อนาทีในวัย

          ผู้สูงอายุ


                 * ควรเริ่มจากเบาๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มจนร่างกายปรับตัวได้



                 * ไม่ฝึกแบบกระแทก กระตุก หรือเปลี่ยนแปลงฉับพลันเพราะกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ


          อาจฉีกขาดได้
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69