Page 228 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 228
228
การน าข้อบลทางการตลาดไปใช้ในการพยากรณ์การตลาด
การพยากรณ์ คือ การคาดการณ์ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การพยากรณ์ (Forecasting)
และนําค่าพยากรณ์ที่ได้มานั้นไปใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจในธุรกิจต่อไป
อุปสงค์ (Demand) หมายถึง จํานวนสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อภายในระยะเวลา ที่
กําหนดให้ ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าหรือบริการชนิดนั้น หรือ ณ ระดับรายได้ต่างๆ ของ ผู้บริโภค หรือ
ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
การพยากรณ์สามารถแบ่งออกตามหน้าที่ได้ดังนี้
1. ด้านการเงินและการบัญชี (Finance) : อุปสงค์ที่ประมาณการจะเป็นข้อมูลพื้นฐานใน การจัดทํา
งบประมาณการขาย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการทํางบประมาณการเงิน เพื่อจัดสรร ทรัพยากรให้ทุกส่วนของ
องค์การอย่างทั่วถึงและเหมาะสม
2. ด้านการตลาด (Marketing) อุปสงค์ที่ประมาณการไว้จะถูกใช้กําหนดโควตาการขาย ของ
พนักงาน หรือนําไปสร้างยอดขายของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ควบคุมกิจกรรมของฝ่ายขาย และการตลาด
3. ด้านการผลิต (Production) อุปสงค์ที่ประมาณการไว้ถูกนํามาใช้เป็นข้อมูลในการ ดําเนินการ
ต่างๆ ในฝ่ายการผลิตคือ
3.1 การบริหารสินค้าคงคลังและการจัดซื้อ เพื่อมีวัตถุดิบพอเพียงในการผลิต และมี สินค้าสําเร็จรูป
พอเพียงต่อการขาย ภายใต้ต้นทุนสินค้าคงคลังในระดับที่เหมาะสม
3.2 การบริหารแรงงาน โดยการจัดกําลังคนให้สอดคล้องกับปริมาณงานการผลิตที่ พยากรณ์ไว้แต่ละ
ช่วงเวลา
3.3 การกําหนดกําลังการผลิต เพื่อจัดให้มีขนาดของโรงงานที่เหมาะสม มีเครื่องจักร อปกรณ์หรือ
สถานที่ผลิตที่เพียงพอต่อการผลิตตามประมาณการที่พยากรณ์ไว้ การวางแผนการ ผลิตรวม เพื่อจัดสรร
แรงงานและกําลังการผลิตให้สอดคล้องกับการจัดซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ต้อง ใช้ในการผลิตแต่ละช่วงเวลา
3.4 การเลือกทําเลที่ตั้งสําหรับการผลิต คลังเก็บสินค้า หรือศูนย์กระจายสินค้าใน แต่ละแหล่งลูกค้าหรือ
แหล่งการขายที่มีอุปสงค์มากพอ
3.5 การวางแผนกระบวนการผลิตและการจัดตารางการผลิต เพื่อจัดกระบวนการผลิต ให้เหมาะสม
กับปริมาณสินค้าที่ต้องผลิต และกําหนดเวลาผลิตให้สอดค