Page 63 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 63

บทที่ 3 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง     52





                            2) ทรัพยากรที่ทดแทนหรือรักษาไว้ได้ (Replace-able and Maintainable) เช่น ดิน ที่ดิน ป่าไม้
                     ทุ่งหญ้า เป็นต้น
                            3) ทรัพยากรที่ไม่งอกเงยหรือใช้แล้วหมดไป (Exhaustible Natural Resources) ได้แก่ แร่ธาตุ

                     น้ ามัน เป็นต้น
                                                                                                        ั
                             ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นทรัพยากรที่สามารถน ามาใช้ประโยชน์ เพื่อการพกผ่อน
                                                                                  ุ
                     หย่อนใจ หรือเรียกว่า “ทรัพยากรนันทนาการทางธรรมชาติ” ได้แก่ อทยานแห่งชาติ วนอทยาน และ
                                                                                                   ุ
                     สวนรุกขชาติ เป็นต้น
                            ประเภทของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

                             การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม หมายถึง การน าเอาทรัพยากรการท่องเที่ยว
                     ทางวัฒนธรรม เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วิถีชีวิต งานประเพณี เป็นต้น มาใช้ให้
                     เกิดประโยชน์ทางการท่องเที่ยว โดยจะต้องกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึงกัน และเน้นการจัดการการ
                     ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเป็นหลักฐานส าคัญในการเรียนรู้ เป็นสิ่ง

                     ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบไป
                            ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เป็นทรัพยากรที่เกิดจากความเชื่อ หรือการประดิษฐ์คิดค้น
                     ของมนุษย์ ซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละภูมิภาค หรือทางสภาพแวดล้อมที่ต่างกันไป ซึ่งสามารถน ามาใช้
                     ประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยวได้

                            1) ทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ ได้แก  ่
                               (1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น เมือง ย่านประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี
                               (2) ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่เคลื่อนที่ไม่ได้
                                                ั
                     อาจจะสร้างด้วยวัตถุที่แตกต่างกนไป เช่น พระราชวัง ก าแพงเมือง อทยานประวัติศาสตร์ ส่วนโบราณวัตถุ
                                                                              ุ
                     เป็นสิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ย้ายได้ เช่น ศิลาจารึก เทวรูป ข้าวของเครื่องใช้โบราณ เป็นต้น
                               (3) ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนาสถานและปูชนียวัตถุ เป็นสิ่งปลูกสร้างโบราณ
                                                                            ึ่
                     ที่ยังคงใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจกรรมทางศาสนา เป็นที่พงทางใจ ศูนย์รวมจิตใจ เช่น วัด โบสถ์
                     มัสยิด เทวาลัย ศาลเจ้า เป็นต้น
                               (4) ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทอื่น ๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์
                     ส าหรับการพักผ่อน สนุกสนาน หาความรู้ เช่น สวนสนุกพิพิธภัณฑ์ สถานที่ตากอากาศ เป็นต้น
                            2) ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ ได้แก่
                             กิจกรรมหรือแนวทางการปฏิบัติที่มนุษย์คิดขึ้นมาเพอตอบสนองความต้องการด้านจิตใจให้มีที่ยึด
                                                                       ื่
                     เหนี่ยว ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของความรื่นเริง ความหวาดกลัว สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
                               (1) วัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและความเชื่อ เช่น การแห่เทียนพรรษา การแห่ผีตาโขน
                     บุญบั้งไฟ พิธีตักบาตรเทโว เทศกาลตราจีนของชาวนครสวรรค์ เป็นต้น

                               (2) วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณี การละเล่น และการฉลอง ประเพณีเป็นเรื่องของการสืบต่อ
                     กันมาเป็นเวลาช้านาน จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ปัจจุบันมีประเพณีที่น ามาเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว
                     ได้แก่ สงกรานต์ ลอยกระทง การแข่งเรือ เป็นต้น
                               (3) วัฒนธรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิต เป็นการศึกษาเรียนรู้ สัมผัส การด าเนินชีวิตของชาวบ้าน

                     ในท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น การเที่ยวชมวิถีชีวิตของกะเหรี่ยง ชาวเล การด าเนินชีวิตของชาวสวนปลายโพงพาง
                     เป็นต้น
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68