Page 149 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 149

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา   135


               และผลักดันผลงานวิจัยที่มีศักยภาพ และมีความพร้อมเพื่อประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์ มี

               2 สถานที่ ได้แก่ อาคารนวัตกรรมชีวภัณฑ์ มหิดล และ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ

                       สถานการณ์การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีของประเทศไทยในภาครัฐ ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม มี

               โครงการวิจัยและพัฒนายาชีววัตถุเพื่อรักษามะเร็ง คือ Rituximab Bevacizumab และ Trastuzumab ได้

               ความรับร่วมมือจาก 4 ภาคส่วนใหญ่ คือ บริษัท ปตท. จ ากัด (มหาชน) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

               มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และบริษัทจากต่างประเทศ โดยสถาบันวิจัยจุฬากรณ์และคณะ

               แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท าหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนายาชีววัตถุคล้ายคลึง และยาโมโน

               โคลนอลแอนติบอดีชนิดใหม่ในระดับต้นน ้าโดยอาศัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาจากประเทศ

               จีน หรือบริษัทยาในเครือข่าย โดยมีการคัดเลือกผู้ผลิตที่มีความสามารถในการด าเนินงานตามมาตรฐานที่

               ก าหนด มีความต้องการใช้ในประเทศ เป็นโครงการที่มีแรงผลักดันจากสังคมสูง นอกจากนี้องค์การเภสัชกรรม
               ยังผลิตในระดับปลายน ้า คือการแบ่งบรรจุ โดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม เมื่อยาสามารถผลิต

               ได้เองในประเทศจะท าให้ราคาถูกลงและผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากขึ้น


                       สถานการณ์และความสามารถในการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีของประเทศไทย ในภาคเอกชน คือ

               บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จ ากัด และ บริษัท KinGen Biotech จ ากัด ซึ่งกรณีของบริษัท Kingen Biotech

               นั้นได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาในระดับต้นน ้าจากประเทศเกาหลีและด าเนินการผลิตที่

               โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีอาคารนวัตกรรมชีวภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด าเนิน
               กิจการในลักษณะขององค์กรที่ท าการรับจ้างผลิตเพื่อพัฒนา และผลักดันผลงานวิจัยที่มีศักยภาพ และมีความ

               พร้อมเพื่อประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์ ทางด้านการทดสอบผลิตภัณฑ์ การทดสอบของ

               คุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยเบื้องต้นสามารถทดสอบได้ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่สามารถ

               ทดสอบในระยะก่อนคลินิกและการศึกษาทางคลินิก แต่การส่งตรวจยังมีความล่าช้า ผู้วิจัยส่วนใหญ่จึงนิยมส่ง

               ตรวจยืนยันความคล้ายคลึงของผลิตภัณฑ์โดยบริษัทต่างประเทศ เช่น เกาหลี ในประเทศไทยส าหรับการ

               ทดสอบในสัตว์ทดลองขนาดเล็กหน่วยงานที่มีความพร้อมมากที่สุดคือสถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย

               มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนการทดสอบในสัตว์ทดลองขนาดใหญ่ เช่น ลิง ศูนย์สัตว์ทดลองจุฬาลงกรณ์
               มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติมีศักยภาพในการทดสอบนี้


                       จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ มีการให้ความเห็นว่าสถานการณ์การการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี

               ของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มั่นคงนัก การพิจารณาความมั่นคงเป็นส่วนส าคัญของอุตสาหกรรมการผลิตยา

               ในประเทศไทย เพื่อให้ประเทศสามารถผลิตยาใช้ได้เองในภาวะฉุกเฉิน และมีอ านาจในการต่อรองราคากับ

               ต่างประเทศ แม้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจะยังไม่ได้ถูกน ามาใช้ในประเทศ แต่การผลิตได้เองนับว่ามีประโยชน์

               อุตสาหกรรมต่างประเทศจะขายยาให้เราในราคาที่ถูกลง เพราะเรามีอ านาจต่อรองมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญให้
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154