Page 280 - สารานุกรมพืช ในประเทศไทย (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ E-BOOK โดย พระครูโสภณวีรานุวัตร, ดร. วัดป่า สุพรรณบุรี.
P. 280

ปุดดิน
                                    สารานุกรมพืชในประเทศไทย

                                                                     ปุดเดือน
                                                                     Hedychium longicornutum Griff. ex Baker
                                                                     วงศ์ Zingiberaceae
                                                                       ไม้ล้มลุก ขึ้นบนพื้นดินหรืออิงอาศัย ล�าต้นสูง 30-60 ซม. ใบรูปขอบขนานหรือ
                                                                     รูปใบหอก ยาวได้ถึง 30 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเรียวสอบจรดล�าต้น ช่อดอกแบบ
                                                                     ช่อเชิงลด ออกที่ยอด ก้านช่อยาว 4-5 ซม. ใบประดับเรียงซ้อนเหลื่อมอัดกันแน่น
                                                                     ยาวประมาณ 2.5 ซม. ด้านนอกมีขนหนาแน่น แต่ละใบประดับมีดอกเดียว กลีบเลี้ยง
                                                                     ยาวกว่าใบประดับ ยาว 1-1.5 ซม. กลีบดอกรูปแถบ ยาว 3-5 ซม. เกสรเพศผู้ที่
                                                                     เป็นหมันรูปใบหอกกลับ ยาว 1.5-2.5 ซม. กลีบปากสั้นกว่าเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน
                                                                     เล็กน้อย เรียวแคบ ม้วนงอ ปลายกลีบเป็นแฉกลึก ก้านชูอับเรณูยาว 3-5 ซม.
                                                                     อับเรณูรูปแถบ ยาว 4-5 มม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ตาเหิน, สกุล)
                                                                       พบที่คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ตอนล่างของไทยที่ยะลา นราธิวาส ขึ้นตาม
                  ปุดชมพู: โคนล�าต้นหนา ช่อวงใบประดับสูง ก้านช่อสั้น ใบประดับสีชมพู เรียงซ้อนเหลื่อม กลีบปากบานออก   พื้นดินหรือบนคบไม้ในป่าดิบชื้น ความสูงระดับต�่า ๆ
                ปลายเว้าตื้น (ภาพ: ยะลา - RP)
                ปุดดิน, สกุล                                          เอกสารอ้างอิง
                                                                       Baker, J.G. (1894). Hedychium. In Flora of British India Vol. 6: 228.
                Orchidantha N. E. Br.
                วงศ์ Lowiaceae

                   ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินทอดเลื้อย รากหนา ล�าต้นสั้น ใบเรียงสลับระนาบเดียว
                โคนมีกาบ เส้นใบเรียวยาวตามแผ่นใบ มีเส้นใบย่อยบางๆ ตามขวางตลอดทั้ง
                แผ่นใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ออกจากเหง้าหรือซอกใบใกล้ยอด ดอกติด
                บนใบประดับ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคนเป็นหลอดหุ้มรังไข่ กลีบดอก
                กลีบข้าง 2 กลีบ กลีบปากขนาดใหญ่ 1 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น
                อับเรณูแตกตามยาว รังไข่ใต้วงกลีบ มี 3 ช่อง ออวุลจ�านวนมาก พลาเซนตารอบ
                แกนร่วม เกสรเพศเมีย 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียจัก 3 พู ผลแห้งแตกเป็น 3 ส่วน
                เมล็ดกลม มีหลายเมล็ด มีขน เยื่อหุ้มเมล็ดขาดวิ่น ปลายมีฝาเปิด

                   สกุล Orchidantha เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สกุลเดียวของวงศ์ Lowiaceae มี 21 ชนิด
                   พบในจีน ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยมี 3 ชนิด อีก 2 ชนิด คือ ปุดนกกระทุง
                   O. foetida Jenjitt. & K. Larsen และ O. fimbriata Holttum แผ่นกลีบปากยาว   ปุดเดือน: ช่อดอกแบบช่อเชิงลด กลีบปากม้วนงอ ก้านชูอับเรณูยาว (ภาพ: ยะลา - RP)
                   10-12 ซม. พบทางภาคใต้ตอนล่างและคาบสมุทรมลายู ชื่อสกุลหมายถึงพืชที่ดอก  ปุดนกกระทุง
                   เหมือนกล้วยไม้ ดอกส่วนใหญ่มีกลิ่นเหม็น
                                                                     Orchidantha foetida Jenjitt. & K. Larsen
                ปุดดิน                                                 ไม้ล้มลุก สูง 30-50 ซม. ใบรูปใบหอก ยาว 20-40 ซม. ก้านใบยาว 7-12 ซม.
                Orchidantha siamensis K. Larsen                      ใบประดับรูปใบหอก ยาวได้ถึง 7 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงยาว 10-11 ซม. กลีบรูปเรือ
                                                                     ปลายมีติ่งแหลม สีม่วงอมน�้าตาล ยาว 6-6.5 ซม. กลีบดอกคู่ข้างรูปขอบขนาน
                   ไม้ล้มลุก ใบรูปขอบขนาน กว้าง 6-7 ซม. ยาวได้ถึง 30 ซม. ก้านยาวได้ถึง 30 ซม.   ยาว 3-3.2 ซม. กลีบปากสีม่วง แนบติดกลีบเลี้ยงคู่ข้าง ยาวเท่า ๆ กัน ก้านชูอับเรณู
                หลอดกลีบเลี้ยงยาว 10-14 ซม. กลีบสีม่วงเข้ม รูปแถบ ยาว 6.5-8 ซม. กลีบดอก  ยาว 8-9 มม. อับเรณูรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 9 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว
                คู่ข้างรูปแถบหรือรูปเส้นด้าย ยาว 1.5-2 ซม. กลีบปากสีขาว ยาวประมาณ 6 ซม.   ประมาณ 1.7 ซม. ยอดเกสรพูกลางยาวประมาณ 1 ซม. ปลายจักชายครุย พูข้างยาว
                ช่วงล่างเรียวแคบคล้ายก้านกลีบยาวประมาณ 3 ซม. ปลายกว้าง เว้าตื้น อับเรณู  ประมาณ 7 มม. ปลายแยก 2 แฉก จักชายครุย ผลรูปรีกว้าง ยาวประมาณ 5 ซม.
                รูปแถบ ยาว 5-6 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 ซม. ยอดเกสรที่จักยาวประมาณ   (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ปุดดิน, สกุล)
                1.5 ซม. ปลายเป็นชายครุย ยาวได้ถึง 6 มม. ผลรูปรี ยาว 2-3 ซม. เมล็ดกลม   พบที่ลาว และภาคตะวันออกของไทยที่อุบลราชธานี ขึ้นตามป่าดิบแล้งระดับต�่า ๆ
                เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 มม.
                   พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้ที่พัทลุง นราธิวาส ขึ้นตามป่าดิบชื้น ความสูง  เอกสารอ้างอิง
                                                                       Jenjittikul, T. and K. Larsen. (2002). Orchidantha foetida (Lowiaceae), a new
                ระดับต�่า ๆ                                               species from Thailand. Nordic Journal of Botany 22(4): 405-407.
                  เอกสารอ้างอิง
                   Larsen, K. (1972). Lowiaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(2): 170-171.
                   Wu, D. and W.J. Kress. (2000). Lowiaceae. In Flora of China Vol. 24: 319.














                  ปุดดิน: ก้านใบยาว แผ่นใบรูปขอบขนาน ช่อดอกออกใกล้ยอด กลีบเลี้ยงสีม่วงเข้ม รูปแถบ กลีบปากขนาดใหญ่สีขาว   ปุดนกกระทุง: ดอกออกจากเหง้า กลีบเลี้ยงรูปเรือ กลีบปากสั้น ผลแห้งแตกเป็น 3 ส่วน (ภาพ: อุบลราชธานี - RP)
                ปลายกลีบเว้าตื้น ยอดเกสรเพศเมียจักชายครุย (ภาพ: นราธิวาส - CP)

                260






        58-02-089_213-292_Ency_new1-3_J-Coated.indd   260                                                                 3/1/16   5:49 PM
   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285