Page 300 - สารานุกรมพืช ในประเทศไทย (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ E-BOOK โดย พระครูโสภณวีรานุวัตร, ดร. วัดป่า สุพรรณบุรี.
P. 300
ผักเบี้ย
สารานุกรมพืชในประเทศไทย
ผักเบี้ย
Galium asperifolium Wall.
ไม้เถาล้มลุก แตกกิ่งจ�านวนมาก เกลี้ยงหรือมีขนยาว ใบเรียงรอบข้อ 2-6 ใบ
รูปใบหอก รูปแถบ หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 0.5-2.5 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคน
เรียวสอบ แผ่นใบมีขนคายตามขอบใบและเส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนหนาแน่นหรือ
เกลี้ยง มีเส้นกลางใบ 1 เส้น ไร้ก้าน ช่อดอกยาวได้ถึง 18 ซม. ใบประดับคล้ายใบ
ผักบุ้งฝรั่ง: ใบรูปไข่กว้าง ปลายแหลมยาว มีติ่งเรียวแหลม โคนตัด ดอกจ�านวนมาก (ภาพ: cultivated - RP) ยาว 1-4 มม. ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. ขยายในผล ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง
2-3 มม. กลีบแฉกลึกเกินกึ่งหนึ่ง รังไข่เกลี้ยง ผลเกลี้ยง มักฝ่อหนึ่งพู รูปกลม ๆ
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม.
พบที่อัฟกานิสถาน เนปาล อินเดีย ภูฏาน ศรีลังกา บังกลาเทศ จีนตอนใต้ พม่า
และภูมิภาคมาเลเซีย ในไทยพบที่ดอยอินทนนท์และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ขึ้นตามชายป่าดิบเขาหรือที่โล่งบนเขาหินปูน ความสูง 2100-2550 เมตร
ผักเบี้ยขน
Galium elegans Wall. ex Roxb.
ไม้เถาล้มลุก ยาวได้ถึง 1 ม. ล�าต้นมีขนสีขาวหนาแน่น ใบเรียงเป็นวงรอบข้อ
4 ใบ รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาว 0.8-3 ซม. ปลายมนหรือกลม
โคนแหลมหรือมน แผ่นใบมีขนยาวสีขาวทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้น ก้านใบ
สั้นมากหรือยาว 4-5 มม. ช่อดอกยาวได้ถึง 10 ซม. ดอกจ�านวนมาก ก้านดอกยาว
ผักบุ้งระย้า: ปลายใบมีติ่งแหลม แผ่นใบบาง ก้านใบสีม่วง ช่อดอกมี 1-3 ดอก (ภาพ: แก่งกระจาน เพชรบุรี - PK) 0.5-2.5 มม. ใบประดับเรียวแคบ ยาว 1-3 มม. ดอกสีเหลืองอมขาว ดอกบาน
เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 มม. รังไข่มีขน ผลรูปกลม ๆ หรือรูปคล้ายไต จัก 2 พู
เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. มีขนยาวสีขาวหนาแน่น
พบที่ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ จีน ไต้หวัน พม่า ชวา ฟิลิปปินส์ ในไทยพบ
ที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และดอยภูคา จังหวัดน่าน ขึ้นตามป่าดิบเขาหรือ
บนที่โล่งเขาหินปูน ความสูง 1000-2200 เมตร
เอกสารอ้างอิง
ผักบุ้งรั้ว: I. cairica ใบรูปฝ่ามือมี 5 แฉก แฉกลึกถึงโคน แฉกกลางขนาดใหญ่กว่าแฉกข้าง โคนกลีบดอกด้านในสีเข้ม Chen, T. and F. Ehrendorfer. (2011). Rubiaceae (Galium). In Flora of China Vol.
(ภาพ: สระบุรี - PK) 19: 104, 113, 122.
ผักบุ้งรั้ว: I. mauritiana ใบรูปฝ่ามือ มี 5 แฉก แฉกลึกประมาณกึ่งหนึ่ง หลอดกลีบดอกเรียวแคบ กลีบเลี้ยงขนาด
เท่าๆ กัน ปลายกลีบมน (ภาพ: นครศรีธรรมราช - RP) ผักเบี้ย: ใบเรียงเวียนรอบข้อ 2-6 ใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง กลีบดอก 4 กลีบ อับเรณูยื่นพ้นปากหลอด
กลีบดอก ผลเกลี้ยง มักฝ่อหนึ่งพู รูปกลม ๆ (ภาพ: ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ - RP)
ผักเบี้ย, สกุล
Galium L.
วงศ์ Rubiaceae
ไม้เถาล้มลุก ล�าต้นมักเป็นสี่เหลี่ยม ใบและหูใบเรียงรอบข้อ 4-10 ใบ ส่วนมาก
มีเส้นกลางใบเส้นเดียว หรือเส้นโคนใบ 3 เส้น ก้านสั้นมากหรือไร้ก้าน ช่อดอกแบบ
ช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมักฝ่อ ดอกรูปกงล้อ
สีเขียวอมขาวหรือเหลือง มี 4 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก เกสรเพศผู้ 4 อัน
อับเรณูยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก จานฐานดอกแยก 2 พู ติดด้านบนรังไข่ รังไข่
ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลเม็ดเดียว ก้านเกสรเพศเมียแยก 2 แฉก
ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแห้งแยกเป็น 2 พู บางครั้งฝ่อหนึ่งพู
สกุล Galium อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Rubioideae คล้ายกับสกุล Rubia ที่มีผลสด มี
กว่า 400 ชนิด พบในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในไทยมี 2 ชนิด มีความผันแปรสูง
ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “galion” ที่ใช้เรียกพืชในสกุลนี้ชนิด G. verum L. ผักเบี้ยขน: ใบเรียงเป็นวงรอบข้อ 4 ใบ เส้นโคนใบ 3 เส้น ผลมีขนยาวหนาแน่น (ภาพ: ดอยเชียงดาว เชียงใหม่ - SSa)
280
58-02-089_213-292_Ency_new1-3_J-Coated.indd 280 3/1/16 5:56 PM