Page 444 - สารานุกรมพืช ในประเทศไทย (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ E-BOOK โดย พระครูโสภณวีรานุวัตร, ดร. วัดป่า สุพรรณบุรี.
P. 444
สิรินธรวัลลี
สารานุกรมพืชในประเทศไทย
สิรินธรวัลลี
Phanera sirindhorniae (K. Larsen & S. S. Larsen) Mackinder & R. Clark
วงศ์ Fabaceae
ชื่อพ้อง Bauhinia sirindhorniae K. Larsen & S. S. Larsen
ไม้เถาเนื้อแข็ง มือจับม้วนงอ มีขนสีน�้าตาลแดงหนาแน่นตามกิ่งอ่อน ช่อดอก
ใบประดับ ฐานดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอก รังไข่ ก้านเกสรเพศเมีย
และผล ใบรูปไข่กว้าง ยาว 5-18 ซม. ปลายแฉกตื้น ๆ แผ่นใบหนา เส้นใบ 9-11 เส้น
ก้านใบยาว 2-6.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ แกนช่อยาวได้ถึง 10 ซม. ก้านดอกยาว
สิงโตขยุกขยุย: ใบรูปไข่ แผ่นใบหนา สีเขียวอมน�้าตาลม่วง ขอบกลีบเลี้ยงมีขนครุยสีเหลือง แผ่นกลีบปากมีปุ่มยาว 1.5-2 ซม. ตาดอกรูปรี ปลายแหลม ใบประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ 5 มม.
ทั่วไป (ภาพ: ภูหลวง เลย - PK)
ฐานดอกเรียวแคบ ยาว 1-1.5 ซม. มีริ้ว กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยก
เป็น 5 แฉกตื้น ๆ แยกจรดโคนด้านเดียว กลีบดอกรูปใบหอก ยาว 1-1.3 ซม.
รวมก้านกลีบสั้น ๆ ก้านชูอับเรณูและอับเรณูเกลี้ยง เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ส่วนมาก
มี 3 อัน ที่เป็นหมัน 2 อันเป็นติ่งขนาดเล็ก รังไข่ยาว 0.7-1 ซม. มีก้านสั้น ๆ
ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.7-1 ซม. ฝักรูปใบหอก แบน ยาว 15-18 ซม. ปลายมีติ่งแหลม
มี 5-7 เมล็ด แบน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ แสลงพัน, สกุล)
พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่หนองคาย
บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง ความสูง 150-200 เมตร ค�าระบุ
ชนิดตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
มีชื่อพื้นเมืองว่า สามสิบสองประดง เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาบ�ารุงก�าลัง แก้โรค
ประดงต่าง ๆ
เอกสารอ้างอิง
Larsen, K. and S.S. Larsen. (1997). Bauhinia sirindhorniae sp. nov. (Leguminosae-
สิงโตพัดสีทอง: ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม แผ่ในแนวรัศมีครึ่งวงกลม ก้านดอกยาว (ภาพ: เขาหลวง นครศรีธรรมราช - NT) Caesalpinioideae) a remarkable new species from Thailand. Nordic Journal of
Botany 17: 113.
สิงโตพู่ทอง: ช่อดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายช่อ เรียงในแนวรัศมี (ภาพ: เขาหลวง นครศรีธรรมราช - NT)
สิรินธรวัลลี: มีมือจับ ม้วนงอ มีขนสีน�้าตาลแดงหนาแน่นกระจาย ช่อดอกแบบช่อกระจะ กลีบเลี้ยงแยกจรดโคน
ด้านเดียว เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ส่วนมากมี 3 อัน (ภาพ: cultivated - RP)
สีสม
Actephila collinsiae Hunter ex Craib
วงศ์ Phyllanthaceae
สิงโตสยาม: ช่อดอกมีดอกเดียว ออกตามข้อของเหง้า กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีเส้นสีม่วงแดงจ�านวนมาก เส้าเกสร
แผ่กว้างสีเหลือง (ภาพซ้าย: เขาใหญ่ ปราจีนบุรี - MP; ภาพขวา: ภูหลวง เลย - PK) ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. แยกเพศร่วมต้น กิ่งเป็นเหลี่ยมมีขนประปราย หูใบขนาดเล็ก
ร่วงเร็ว ใบเรียงคล้ายเป็นวงรอบข้อ รูปรี รูปไข่ หรือรูปใบหอกกลับ ยาว 8-15.5 ซม.
ปลายมนหรือแหลมมน แผ่นใบหนา บางครั้งมีนวลด้านล่าง ช่อดอกแบบช่อกระจะ
สั้น ๆ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเพศเมียอยู่ด้านล่าง หรือออกเดี่ยว ๆ
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม ดอกสีเหลืองอ่อน ขนาดเล็กมาก มี 5 กลีบ
ดอกเพศผู้ก้านดอกสั้น ยาวประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาวประมาณ 5 มม.
ด้านนอกมีขนประปราย เกสรเพศผู้ 3-6 อัน ติดบนจานฐานดอก ดอกเพศเมีย
ก้านดอกยาว 1.5-4 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรีหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 6 มม. ปลายกลีบกลม
หรือมน ขยายในผลยาวได้ถึง 1.2 ซม. รังไข่ 3 ช่อง มีขนก�ามะหยี่ ก้านเกสรเพศเมีย
3 อัน ยาวประมาณ 3 มม. ติดทน ยอดเกสรจัก 2 พูตื้น ๆ ผลแห้งแตกตามยาว
รูปรีกว้าง ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงขยายยาวได้ถึง 1.2 ซม. มีเมล็ดเดียว
คล้ายรูปสามเหลี่ยม
พืชถิ่นเดียวของไทย พบกระจายห่าง ๆ ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่อุทัยธานี
เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นตามเขาหินปูนที่แห้งแล้ง ความสูง 100-300 เมตร
สิงโตหนวดยาว: ดอกออกแน่นที่ปลายช่อ กลีบเลี้ยงคู่ข้างคล้ายหนวดยื่นยาว (ภาพ: เขาหลวง นครศรีธรรมราช - NT)
424
59-02-089_399-488_Ency_new1-3_J-Coated.indd 424 3/1/16 6:29 PM