Page 16 - สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น
P. 16

16



                                 2.  หัวใจ  (Heart)   จะมีขนาดประมาณกําปนของตนเอง  ตั้งอยูในทรวงอกระหวางปอดทั้ง 2
                   ขาง  พื้นที่ของหัวใจ 2 ใน 3 สวนจะอยูทางหนาอกดานซายของรางกาย  ภายในหัวใจจะแบงเปน 4 หอง  ขางบน 2

                   หอง  ขางลาง 2 หอง  มีลิ้นหัวใจกั้นระหวางหองบนและหองลาง  แตละหองจะทําหนาที่ตางกันคือ  หองบนขวา
                   จะรับเลือดเสียจากสวนตาง ๆ ของรางกายจากหลอดเลือดดํา  หองลางขวาจะรับเลือดจากหองบนขวาแลวสงไปยัง
                   ปอด  ปอดจะฟอกเลือดดําใหเปนเลือดแดงเพื่อนําไปใชใหม  หองบนซายจะรับเลือดแดงจากปอด  หองลางซายจะ

                   รับเลือดจากหองบนซายแลวสงผานหลอดเลือดแดงไปยังสวนตาง ๆ ของรางกาย
                                 3.  หลอดเลือด (Blood Vessels) มี 3 ชนิด  ไดแก  หลอดเลือดแดง (Arteries) จะนําเลือดแดงจาก
                   หัวใจไปเลี้ยงเซลลตาง ๆ ของรางกาย  หลอดเลือดดํา  (Veins)  จะนําเลือดที่ใชแลวจากสวนตาง ๆ ของรางกายกลับ

                   สูหัวใจ  แลวสงไปฟอกที่ปอด  หลอดเลือดฝอย (Capillaries)  เปนแขนงเล็ก ๆ ของทั้งหลอดเลือดแดงและหลอด
                   เลือดดํา  ผนังของหลอดเลือดฝอยจะบางมากมีอยูทั่วไปในรางกาย  จะเปนที่แลกเปลี่ยนอาหาร  กาซ  และของเสีย

                   ตาง ๆ ระหวางเลือดกับเซลลกับเซลลของรางกาย  เพราะอาหาร  กาซ  และของเสียตาง ๆ สามารถซึมผานได







                                 4.  น้ําเหลืองและหลอดน้ําเหลือง (Lymph and Lymphatic Vessels) น้ําเหลืองเปนสวนหนึ่งของ
                   ของเหลวในรางกาย  มีลักษณะเปนน้ําสีเหลืองออนอยูในหลอดน้ําเหลืองซึ่งมีอยูทั่วรางกาย  น้ําเหลืองจะ

                   ประกอบดวย น้ํา โปรตีน (Protein) เอนไซม (Enzyme) แอนติบอดี (Antibody) และเซลลเม็ดเลือดขาว  (White blood cell)
                   น้ําเหลืองจะเปนตัวกลางแลกเปลี่ยนสารตาง ๆ ระหวางเซลลและหลอดเลือดฝอย  เซลลเม็ดเลือดขาวในตอม

                   น้ําเหลืองชวยกําจัดแบคทีเรียหรือสิ่งแปลกปลอมตาง ๆ







                   การเสริมสรางและดํารงประสิทธิภาพการทํางานของระบบไหลเวียนเลือด

                                 1.  รับประทานอาหารใหครบ 5 หมู  และมีปริมาณที่เพียงพอตอความตองการของรางกาย
                                 2.  ลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีไขมัน  และมีสารคอเลสเตอรอล (Cholesterol) สูงเมื่อ
                   เขาสูวัยผูใหญ  เนื่องจากจะทําใหเกิดไขมันในเลือดสูง  เชน กุง  ปลาหมึก  กะทิ  อาหารประเภทผัด  ทอด  หนัง

                   สัตว  ไขมันสัตว  เปนตน  อยางไรก็ตาม  สารอาหารประเภทไขมันยังจัดวาเปนสารอาหารที่จําเปนในวัยเด็กและ
                   วัยรุน  เพราะไขมันเปนสวนประกอบของโครงสรางผนังเซลลและเปนแหลงของพลังงาน  ดังนั้น  วัยรุนควร

                   รับประทานอาหารที่มีไขมันบางในปริมาณที่เหมาะสมตามขอแนะนําทางโภชนาการ
                                 3.  ออกกําลังกายอยางสม่ําเสมออยางนอยสัปดาหละ 3 วัน วันละอยางนอย 30 นาที
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21