Page 99 - วทยทษะ
P. 99
95
ตัวทําละลาย ตัวละลาย สารละลาย
รูปที่ 6.2 การเกิดสารละลายจากสารที่มีสถานะต่างกัน
2.2 สารละลายที่เกิดจากสารที่มีสถานะเดียวกันผสมกัน จะ
กําหนดให้สารที่มีปริมาณ มากกว่าจะเป็นตัวทําละลาย ส่วนสารที่มี
ปริมาณน้อยกว่าเป็นตัวละลาย เช่น แอลกอฮอล์ฆ่าเชื่อ มีเอทานอล 70
% และนํ้า 30 % จึงถือว่าเอทานอลเป็นตัวทําละลาย เพราะเอทานอลมี
ปริมาณมากกว่าน ส่วนนํ้าเป็นตัวละลาย เพราะมีปริมาณน้อยกว่า
1.3 สารเนื้อผสม (Heterogeneous Substance) หมายถึง สาร
ที่มีเนื้อสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาผสมกัน โดยลักษณะเนื้อของสารไม่
ผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถมองเห็นความแตกต่างของ เนื้อ
สารที่เป็นองค์ประกอบได้ เมื่อนําสารแต่ละส่วนไปทดสอบจะแสดงสมบัติ
ที่แตกต่างกัน เช่น นํ้าอบไทย ขมิ้นกับปูน พริกกับเกลือ นํ้าโคลน นํ้าแป้ง
คอนกรีต นํ้าจิ้ม แกงเลียง แกงเผ็ด เป็นต้น
3.2 การจัดกลุ่มสารเมื่อใช้ขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์
การจําแนกสารเมื่อใช้ขนาดอนุภาคสารเป็นเกณฑ์จะแบ่งได้ 3
กลุ่ม คือ สารแขวนลอย คอลลอยด์ และสารละลาย