Page 60 - หนังสือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน
P. 60

53



                      2.3. ปญหาพื้นฐานการสุขาภิบาลอาหาร

                         อาหารและน้ําดื่มเปนสิ่งจําเปนสําหรับชีวิตมนุษยและเปนที่ทราบกันดีแลววาปจจุบันโรคติดเชื้อของ
                  ระบบทางเดินอาหารเปนสาเหตุของการปวยและตายที่สําคัญของประชาชนในประเทศไทย  เชน

                  อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยดและโรคทองรวงชนิดตางๆ ซึ่งนับวาเปนโรคที่สําคัญบั่นทอนชีวิตและเศรษฐกิจ

                  ของประชาชน วิธีที่ดีที่สุดที่จะแกปญหานี้ก็คือ การปองกันโรค โดยทําการควบคุมการสุขาภิบาลอาหารและ

                  สิ่งแวดลอม เพื่อปองกันการแพรโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ดังนั้น จึงควรควบคุมปรับปรุงวิธีการลางจานชาม
                  ภาชนะใสอาหาร ตลอดถึงน้ําดื่มน้ําใช การกําจัดอุจจาระ สิ่งโสโครกและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ใหถูกตอง

                  สุขลักษณะในปจจุบัน อัตราการเพิ่มของประชากรไทยคอนขางจะสูงและรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตชุมชน

                  ใหญๆ เชน เขตสุขาภิบาล เขตเทศบาล กําลังวิวัฒนาการกาวหนาขึ้น เปนลําดับ ประชาชนสวนใหญตอง
                  ออกไปประกอบอาชีพและรับประทานอาหารนอกบาน ซึ่งถารานจําหนายอาหารเหลานั้นไมปรับปรุง

                  ควบคุม หรือเอาใจใสอยางเขมงวดในเรื่องความสะอาดแลว อาจกอใหเกิดการเจ็บปวยและการตายของ

                  ประชากร ที่มีสาเหตุมาจากโรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้นตามไปดวย
                      2.4. โรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไมถูกหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร

                         เพื่อผลประโยชนและความปลอดภัยในการเลือกใชผลิตภัณฑตางๆ ในปจจุบัน ผูบริโภคทั้งหลาย

                  ไดแกประชาชนควรจะไดศึกษาและทําความเขาใจลักษณะธรรมชาติของผลิตภัณฑที่สําคัญๆ โดยเฉพาะ

                  อยางยิ่งในเรื่องของ “อาหาร” เพื่อเปนแนวทางในการเลือกปฏิบัติดังนี้
                         1.  อาหารไมบริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พุทธศักราช 2522 ไดใหความหมายของอาหารที่

                  ไมบริสุทธิ์ ไวดังนี้

                             1)  อาหารที่มีสิ่งที่นารังเกียจหรือสิ่งที่นาจะเปนอันตรายแกสุขภาพเจือปนอยูดวย

                             2)  อาหารที่มีวัตถุเจือปนเปนเหตุใหคุณภาพของอาหารนั้นเสื่อมถอย เวนแตการเจือปนนั้น
                  จําเปนตอกรรมวิธีการผลิต และไดรับอนุญาตจากเจาพนักงานเจาหนาที่แลว

                             3)  อาหารที่ไดผสมหรือปรุงแตงดวยวิธีใดๆ โดยประสงคจะปกปดซอนเรนความชํารุด

                  บกพรองหรือคุณภาพที่ไมดีของอาหารนั้น

                             4)  อาหารที่ไดผลิต บรรจุ หรือเก็บรักษาไวโดยไมถูกสุขลักษณะ
                             5)  อาหารที่ผลิตจากสัตวที่เปนโรคอันอาจติดตอถึงคนได

                             6)  อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบดวยวัตถุที่นาจะเปนอันตรายตอสุขภาพ

                         2.  อาหารปลอมปน พระราชบัญญัติอาหารไดกําหนดลักษณะอาหารปลอมปน ไวดังนี้
                             1)  อาหารที่ไมมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่กําหนดไว

                             2)  อาหารที่ไดสับเปลี่ยนวัตถุอื่นแทนบางสวน หรือคัดแยกวัตถุที่มีคุณคาออกเสียทั้งหมดหรือ

                  บางสวน แลวจําหนายเปนอาหารแทหรือยังใชชื่ออาหารนั้นอยู

                             3)  อาหารที่ผลิตขึ้นเทียมอาหารอยางหนึ่งอยางใด แลวจําหนายเปนอาหารแท
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65