Page 31 - 09_กฎหมายอนทเกยวของกบการปฏบตหนาท_Neat
P. 31
๒๔
ó.ò »ÃÐàÀ·¢Í§¡ÒáÃÐทํา·Ò§»¡¤Ãͧ
การกระทําทางปกครองเปนการกระทําของฝายปกครองในบริบทของกฎหมาย
มหาชนที่มีความหลากหลาย ทํานองเดียวกันกับความหลากหลายของภารกิจในทางปกครอง โดยทั่วไป
การกระทําทางปกครองอาจจําแนกได ๒ ประเภท คือ ๑.การกระทําในทางขอเท็จจริง และ ๒.การกระทํา
ที่มุงตอผลในทางกฎหมาย
ó.ò.ñ ¡ÒáÃÐทําã¹·Ò§¢ŒÍà·ç¨¨ÃÔ§
การกระทําในทางขอเท็จจริง เปนการกระทําทางปกครองที่ฝายปกครอง
ไมไดมีการแสดงเจตนาเพื่อใหเกิดนิติสัมพันธทางกฎหมาย กลาวคือเปนการกระทําที่ฝายปกครอง
ไมตองการใหเกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิตามกฎหมาย แตมีลักษณะเปนการปฏิบัติการเพื่อใหภารกิจ
ทางปกครองบรรลุผลไดในทางขอเท็จจริง ซึ่งมีกรณีเดียวคือ “ปฏิบัติการทางปกครอง” ดังนั้น การกระทํา
ที่เปนการปฏิบัติการทางปกครอง จึงไมมีปญหาเรื่องความสมบูรณของการกระทําเพียงแตหาก
การกระทํานั้นไมชอบดวยกฎหมายอันเปนการละเมิด ยอมกอใหเกิดนิติสัมพันธทางกฎหมาย
ที่ผูเสียหายจะเรียกรองใหฝายปกครองควรใชคาสินไหมทดแทนได
ตัวอยาง การกระทําทางปกครองที่มีลักษณะเปนการปฏิบัติการทางปกครอง
เชน การออกประกาศเตือนใหประชาชนระวังอันตรายจากสารเมลามีน การยกรถยนตที่จอดอยูในที่
หามจอดไปไวที่สถานีตํารวจ การรื้อถอนอาคารที่ปลูกสรางโดยผิดกฎหมาย การขับไลบุคคลที่อาศัยอยู
ในบริเวณปาสงวนแหงชาติ โดยไมชอบดวยกฎหมายใหออกไปจากเขตปาสงวน การสลายการชุมนุม
การวางระบบการขนสงปโตรเลียมทางทอในที่ดินของเอกชน เปนตน
ó.ò.ò ¡ÒáÃÐทํา·ÕèÁØ‹§μ‹Í¼Å·Ò§¡®ËÁÒÂ
การกระทําที่มุงตอผลทางกฎหมายแบงไดเปน ๒ ประเภทคือ ๑.การกระทํา
ฝายเดียว ซึ่งไดแก กฎและคําสั่งทางปกครอง และ ๒.การกระทําสองฝาย ซึ่งไดแก สัญญาทางปกครอง
ñ) ¡®
กฎ หมายถึง กฎหมายลําดับรองที่ฝายปกครองตราขึ้น โดยอาศัย
อํานาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือพระราชกําหนดฉบับใดฉบับหนึ่ง
ซึ่งเปนกฎหมายแมบท เพื่อกําหนดรายละเอียดใหเปนไปตามกฎหมายแมบท โดยมีผลบังคับเปน
การทั่วไป โดยไมมุงหมายใหใชบังคับแกกรณีใด หรือบุคคลใดเปนการเฉพาะ ทั้งนี้ไมวาจะเรียกชื่อวา
อยางไรก็ตาม เรียกวาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ขอบัญญัติทองถิ่น ระเบียบ
หรือขอบังคับ ก็ได ดังนั้น กฎจึงมีลักษณะสําคัญ ๒ ประการดังนี้
๑. บุคคลที่ถูกบังคับใหกระทําการถูกหามมิใหกระทําการหรือไดรับ
อนุญาตใหกระทําการ ตองเปนบุคคลที่ถูกนิยามไวเปนประเภท เชน ผูใด ขาราชการ คนตางดาว ฯลฯ
ดังนั้น เราจึงไมอาจทราบจํานวนที่แนนอนของบุคคลที่อยูภายใตการบังคับของกฎ