Page 99 - สารานุกรมพืช ในประเทศไทย (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ E-BOOK โดย พระครูโสภณวีรานุวัตร, ดร. วัดป่า สุพรรณบุรี.
P. 99

สกุล Zingiber มีประมาณ 100 ชนิด ส่วนมากพบในเอเชียเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน   สารานุกรมพืชในประเทศไทย  ขิงหยก
                       ในไทยคาดว่ามีพืชพื้นเมืองถึง 60 ชนิด ส่วน ขิง Z. officinale Roscoe ไพล
                       Z. montanum (J. Koenig) Link ex A. Dietr. กระทือ Z. zerumbet (L.) Roscoe
                       ex Sm. และไพลดำา Z. ottensii Valeton เป็นพืชต่างถิ่น ซึ่ง 3 ชนิดแรก เข้าใจว่า
                       มีถิ่นกำาเนิดในอินเดีย ส่วนชนิดสุดท้ายมีถิ่นกำาเนิดในภูมิภาคมาเลเซีย ชื่อสกุล
                       มาจากภาษากรีก “zingiberis” ที่ใช้เรียกพวกขิงข่า

                    ขิงเขาหลวง
                    Zingiber newmanii Theilade & Mood
                       ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 3 ม. มีขนที่โคนกาบใบถึงก้านใบ ลิ้นกาบ เส้นกลางใบด้านล่าง   ไพล: ใบเรียวแคบ ใบประดับสีน�้าตาล ขอบสีเขียว มีขนสั้นนุ่ม (ภาพ: cultivated - JM)
                    ลิ้นกาบยาวประมาณ 1 ซม. ปลายจัก 2 พู ใบรูปขอบขนาน ยาว 40-50 ซม. ก้านใบยาว
                    ประมาณ 3 มม. ช่อดอกออกจากเหง้า ก้านช่อยาว 5-15 ซม. กาบดอกสีแดง ช่อดอก
                    รูปไข่ ยาว 10-16 ซม. ใบประดับสีแดงรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 5 ซม. ใบประดับย่อย
                    รูปรี ยาวประมาณ 3 ซม. กลีบเลี้ยงรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 3.3. ซม. ดอกสีขาว
                    รูปขอบขนาน กลีบหลังยาวประมาณ 2 ซม. กลีบข้างยาวประมาณ 1.8 ซม. กลีบปาก
                    สีม่วงมีจุดสีครีมกระจาย ยาวประมาณ 1.3 ซม. แผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาว
                    ประมาณ 7 มม. อับเรณูสีครีม สันสีม่วง
                       พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้ที่ระนอง นครศรีธรรมราช และตรัง ขึ้นตาม
                    ป่าดิบชื้น และที่โล่ง ความสูง 150-400 เมตร
                                                                          ไพลด�า: ใบประดับสีเแดงด้าน ๆ กลีบปากสีเหลือง (ภาพซ้าย: cultivated - JM); กระทือ: ใบประดับสีเขียว
                                                                        ขอบบาง ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบปากสีเหลือง (ภาพขวา: cultivated - JM)
                    ขิงลาร์เซน
                    Zingiber larsenii Theilade
                       ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 ม. โคนกาบใบมีขนที่โคนก้านใบ ลิ้นกาบยาวประมาณ 1 ซม.
                    ปลายจัก 2 พู ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 25-30 ซม. แผ่นใบมักมีปื้นแดง
                    ด้านล่าง มีขนคล้ายไหมตามเส้นกลางใบและขอบใบ ก้านใบยาวประมาณ 5 มม.
                    ช่อดอกออกจากเหง้า ก้านช่อยาว 5-15 ซม. ช่อดอกรูปไข่ ยาว 6-7 ซม. ใบประดับ
                    รูปใบหอก ยาวได้ถึง 3.2 ซม. สีแดงอมส้ม ปลายมีขน ใบประดับย่อยรูปใบหอก
                    ยาวได้ถึง 2.7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1.8 ซม. กลีบดอกสีชมพู
                    หรือส้มอมแดง ยาวได้ถึง 7.5 ซม. กลีบหลังรูปใบหอก ยาวประมาณ 3 ซม. กลีบข้าง
                    รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบปากยาวประมาณ 2 ซม. ปลายจัก 3 พู ตื้น ๆ
                    แผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปรีกว้าง ยาวประมาณ 8 มม.
                       พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่เชียงใหม่ และน่าน ขึ้นตามป่าดิบเขา
                    ความสูง 1400-1700 เมตร ค�าระบุชนิดตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก อดีต  ขิงเขาหลวง: กาบดอกสีแดง ช่อดอกรูปไข่ กลีบปากสีม่วง มีจุดสีครีมกระจาย (ภาพ: cultivated - JM)
                    บรรณาธิการร่วมหนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย Prof. Kai Larsen
                    (1926-2012)

                    ขิงหยก
                    Zingiber olivaceum Mood & Theilade
                       ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 2 ม. มีขนประปรายตามกาบใบ เส้นกลางใบด้านล่าง ลิ้นกาบ
                    ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายตัด ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 25-30 ซม.
                    ก้านใบยาวประมาณ 3 มม. ช่อดอกออกจากเหง้า ก้านช่อยาว 45-60 ซม. กาบ
                    สีน�้าตาลอมแดง ช่อดอกรูปไข่ ยาว 10-18 มีเมือกเหนียว ใบประดับสีน�้าตาลอมเขียว
                    มีจุดสีชมพูละเอียด รูปไข่กลับ ยาว 3.5-4 ซม. ปลายกลม ม้วนเข้า ใบประดับย่อย
                    รูปรี ยาวประมาณ 3.5 ซม. มีขน กลีบเลี้ยงรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 3 ซม.
                    กลีบดอกสีครีมมีปื้นสีม่วง รูปขอบขนาน กลีบหลังยาวประมาณ 3 ซม. กลีบข้างแคบ
                    กว่าเล็กน้อย กลีบปากมีรอยด่างสีม่วงกระจาย ยาวประมาณ 2 ซม. แผ่นเกสรเพศผู้
                    ที่เป็นหมันยาวประมาณ 7 มม. อับเรณูสีเหลือง สันสีม่วง  ขิงลาร์เซน: ใบประดับและกลีบดอกสีแดงอมส้ม ปลายกลีบปากจัก 3 พู ตื้น ๆ (ภาพ: ดอยปุย เชียงใหม่ - PK)
                       พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช ขึ้นตามป่าดิบชื้น ความสูง
                    ประมาณ 500 เมตร
                      เอกสารอ้างอิง
                       Theilade, I. (1999). A synopsis of the genus Zingiber (Zingiberaceae) in Thailand.
                          Nordic Journal of Botany 19(4): 389-410.
                       Theilade, I. and J. Mood. (2002). New gingers from SE Asia. New Plantsman n.s.
                          Vol. 1: 18-19.
                       Triboun, P., K. Larsen and P. Chantaranothai. (2014). A key to the genus
                          Zingiber (Zingiberaceae) in Thailand with descriptions of 10 new taxa. Thai
                          Journal of Botany 6(1): 53-77                   ขิงหยก: ใบประดับสีน�้าตาลอมเขียว ปลายกลม ม้วนเข้า กลีบปากมีรอยด่างสีม่วง (ภาพ: นครศรีธรรมราช - JM)


                                                                                                                      79






        59-02-089_001-112 Ency_new1-3_J-Coated.indd   79                                                                  3/1/16   5:18 PM
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104