Page 128 - คำวินิจฉัยศาลปกครองด้านพัสดุ
P. 128
๑๑๔
๑.๕ ข้อพิพาทในขั้นตอนการยกเลิกการจัดซื้อหรือจัดจ้าง
ในการด าเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างของส่วนราชการนั้น นอกจากหัวหน้า
ส่วนราชการจะมีอ านาจสั่งอนุมัติซื้อหรือจ้างแล้ว ยังมีอ านาจสั่งยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง
ได้ด้วยหากมีกรณีเป็นไปตามเหตุหรือเงื่อนไขซึ่งระเบียบที่เกี่ยวข้องก าหนดไว้ โดยเหตุ
หรือเงื่อนไขในการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างจะแตกต่างกันไปตามการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละวิธี
ซึ่งจากการศึกษาค าวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดพบว่า ข้อพิพาทในขั้นตอนการยกเลิก
้
การจัดซื้อจัดจ้างนั้นจะเป็นกรณีการฟองขอให้ศาลเพิกถอนค าสั่งของหัวหน้าส่วนราชการที่ให้
้
ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งผู้ฟองคดีเห็นว่าเป็นค าสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลปกครองสูงสุด
มีค าวินิจฉัยในแนวทางเดียวกันว่า ค าสั่งยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างเป็นค าสั่งทางปกครอง
๑๐๙
ตามข้อ ๑ (๓) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
้
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การฟองโต้แย้งค าสั่งดังกล่าวจึงเป็นคดีพิพาท
ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ โดยมีตัวอย่างค าวินิจฉัย
ของศาลปกครองสูงสุดในแต่ละวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้
๑) ข้อพิพาทเกี่ยวกับการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา
ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ ๔๓ ก าหนดให้การซื้อ
หรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา หากราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
เห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง คณะกรรมการฯ จะต้องเรียกผู้เสนอราคา
รายนั้นมาต่อรองราคาให้ต ่าที่สุดเท่าที่จะท าได้ หรือให้เหลือราคาสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หากต่อรองกับผู้เสนอราคารายดังกล่าวไม่ได้ผล
คณะกรรมการฯ จะต้องเรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการฯ เห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกราย
มาต่อรองราคาใหม่พร้อมกัน หากการต่อรองราคาครั้งใหม่นี้ยังไม่ได้ผล คณะกรรมการฯ
อาจเสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการให้พิจารณายกเลิกการสอบราคาครั้งนั้น เพื่อด าเนินการ
้
สอบราคาใหม่ได้ ซึ่งมีตัวอย่างค าวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับการฟองโต้แย้งค าสั่ง
ยกเลิกการสอบราคา ดังนี้
๑๐๙
อ้างแล้ว ในเชิงอรรถที่ ๑๐๖ หน้า ๑๐๖