Page 174 - คำวินิจฉัยศาลปกครองด้านพัสดุ
P. 174
๑๖๐
๒) กรณีที่ศาลวินิจฉัยว่าผู้ฟ้ องคดีไม่เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือ
เสียหายที่มีสิทธิฟ้ องคดี
กรณีนี้มีตัวอย่างค าวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ
การจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา ดังนี้
- กรณีผู้ซื้อเอกสารสอบราคาแต่ยังไม่ได้ยื่นเสนอราคา ย่อมไม่ใช่
ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้ องขอให้ศาลเพิกถอนประกาศ
สอบราคาจ้างซึ่งผู้ฟ้ องคดีเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้ฟ้ องคดีไม่สามารถ
เข้าแข่งขันเสนอราคาได้
: ค าสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๘๐๖/๒๕๔๘ กรณีที่เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
้
(ผู้ถูกฟองคดี) ประกาศสอบราคาจ้างเหมาก่อสร้างปรับปรุงภายในวัดหัวเวียงและวัดปางล้อ
โดยก าหนดชื่อและชนิดของพัสดุที่ต้องการจ้างเหมาก่อสร้างในแบบแปลนว่าต้องเป็นบล็อก
้
ปูพื้นแบบ Cobble Stone หรือมาตรฐานเทียบเท่า ซึ่งเป็นชื่อสินค้าของผู้ผลิตรายหนึ่ง ผู้ฟองคดี
ซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารสอบราคาโครงการดังกล่าวเห็นว่าประกาศสอบราคาฯ ขัดต่อระเบียบ
กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕
้
และท าให้ผู้ฟองคดีไม่สามารถเข้าแข่งขันเสนอราคาได้ เนื่องจากสินค้าที่ระบุตามประกาศ
สอบราคาฯ มีจ าหน่ายเฉพาะในเขตท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีราคาสูง และต้องเสียค่าใช้จ่าย
ในการขนย้าย ท าให้สินค้าตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
้
้
้
ไม่มีโอกาสได้จ าหน่าย ผู้ฟองคดีได้ขอให้ผู้ถูกฟองคดีแก้ไขข้อก าหนดดังกล่าวแล้ว แต่ผู้ถูกฟองคดี
้
้
เพิกเฉย ผู้ฟองคดีจึงน าคดีมาฟองขอให้ศาลเพิกถอนประกาศสอบราคาดังกล่าว ศาลปกครอง
สูงสุดวินิจฉัยว่า ประกาศสอบราคาข้างต้นมีสถานะเป็นเพียงการชี้ชวน โดยมีการก าหนด
คุณลักษณะของสิ่งของที่ต้องการจะจัดซื้อหรือจัดจ้าง รวมทั้งการก าหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะ
เข้าเสนอราคาเท่านั้น แม้ประกาศดังกล่าวจะก าหนดเกณฑ์ของวัสดุที่จะใช้ก่อสร้างไว้ แต่ก็เป็น
วัสดุที่ผู้เข้าแข่งขันทุกรายสามารถที่จะหาได้ในสถานะเท่าเทียมกันในขณะเสนอราคา ไม่ได้มี
้
ผลกระทบต่อสิทธิของผู้ฟองคดีโดยเฉพาะแต่อย่างใด อีกทั้งการก าหนดวัสดุตามแบบแปลน
การจ้างเหมาก่อสร้างมีผลกระทบต่อผู้ชนะการสอบราคาและได้รับการคัดเลือกเข้าเป็น
้
ผู้รับจ้างเท่านั้น ผู้ฟองคดีเป็นเพียงผู้ซื้อเอกสารสอบราคายังไม่ได้เป็นผู้ชนะการสอบราคา
้
จึงไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟองคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ