Page 99 - คำวินิจฉัยศาลปกครองด้านพัสดุ
P. 99
๘๕
กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาค าวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดสรุปได้ว่า
กรณีที่เป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ
ในขั้นตอนการจัดท าเอกสารหรือประกาศจัดซื้อจัดจ้างทั้งในกรณีการจัดซื้อหรือจัดจ้าง
้
โดยวิธีสอบราคา วิธีประกวดราคา และวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ นั้น เป็นกรณีที่ผู้ฟองคดี
กล่าวอ้างว่าประกาศจัดซื้อจัดจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่
การรวมงานหลายประเภทไว้ในประกาศฉบับเดียวกัน การก าหนดระยะเวลาในการให้หรือขาย
เอกสารจัดซื้อจัดจ้างน้อยกว่าจ านวนวันที่กฎหมายก าหนด การก าหนดคุณสมบัติของผู้เสนอ
ราคาและเงื่อนไขในการเสนอราคาที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอราคาบางรายและกีดกันผู้เสนอราคา
รายอื่นๆ รวมทั้งการที่มีข้อก าหนดบางประการในประกาศจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เช่น การก าหนดให้มีการยึดหลักประกันซอง เป็นต้น
้
โดยในการพิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับประกาศจัดซื้อจัดจ้างซึ่งน ามาฟอง
ต่อศาลปกครองว่าเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอ านาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่นั้น
ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสถานะของประกาศจัดซื้อจัดจ้างไว้แตกต่างกัน
รวม ๔ แนวทาง ได้แก่
ก) วินิจฉัยว่าประกาศจัดซื้อจัดจ้างมีสถานะเป็นเพียงการชี้ชวนโดยมีการ
ก าหนดคุณลักษณะของสิ่งของที่ต้องการจะจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งก าหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะ
เข้าเสนอราคาเท่านั้น และแม้จะก าหนดเกณฑ์ของวัสดุไว้ แต่ก็เป็นวัสดุที่ผู้เข้าแข่งขันทุกราย
สามารถที่จะหาได้ในสถานะที่เท่าเทียมกันในขณะเสนอราคา หาได้มีผลกระทบต่อสิทธิของ
้
ผู้ฟองคดีโดยเฉพาะแต่อย่างใดไม่ (ค าสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๘๐๖/๒๕๔๘) (โปรดศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติมจากบทที่ ๓ แนวค าวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด เรื่อง เงื่อนไขในการ
้
ฟองคดี)
่
ข) วินิจฉัยว่าประกาศจัดซื้อจัดจ้างมีสถานะเป็นค าสั่งทั่วไปของฝายปกครอง
ที่ไม่ได้ก าหนดตัวผู้รับค าสั่งไว้โดยเฉพาะ เพียงแต่ก าหนดคุณสมบัติกว้างๆ ไว้ เพื่อให้ผู้มี
คุณสมบัติตามค าสั่งที่ประสงค์จะเสนอตัวเข้าเป็นคู่กรณีกับหน่วยงานของรัฐทราบและมีสิทธิที่จะ
เสนอราคาตามเงื่อนไขและเวลาที่หน่วยงานของรัฐก าหนด (ค าพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ที่ อ.๑๓๘/๒๕๔๙)
ค) วินิจฉัยว่าประกาศจัดซื้อจัดจ้างมีลักษณะเป็นการกระท าทางปกครอง
้
ที่มีผลกระทบต่อการได้สิทธิหรือเสียสิทธิในการเข้าเสนอราคาของผู้ฟองคดี (ค าพิพากษา
ศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๒๐/๒๕๔๙)